การผ่าตัดเสริมสะโพก เป็นการปรับสรีระรูปร่างให้เห็นส่วนโค้ง ส่วนเว้าของเอว สะโพก และต้นขา เด่นชัดขึ้น รูปร่างจะสวยดูดี เป็น S-curve สร้างรูปร่างสะโพกที่สวยน่าดึงดูดใจ เสริมความมั่นใจ และเสริมบุคลิกภาพในการแต่งตัว ถ้าสะโพกมีลักษณะแบนหรือหย่อนยานจะทำให้ช่วงขาดูสั้นลงและครึ่งล่างดูไม่สวยงาม แม้บางคนจะออกกำลังกายโดยการสคว๊อทอย่างหนักอย่างไร แต่ก้นก็ยังแบน และสะโพกไม่ผาย สำหรับคนที่มีรูปร่างผอมบางแต่ไม่มีสะโพก ก็จะแลดูตรง ไม่เซ็กซี่ แต่เมื่อเสริมสะโพกแล้วจะทำให้ดูมีเอว และเซ็กซี่มากขึ้น จะทำให้ทรวดทรงดูมีมิติ และสมส่วน สวยทั้ง 360 องศา
- ผู้ที่มีสะโพกบุบ เมื่อมองจากด้านหน้าแล้วดูหุ่นตรง จะแลดูไม่มีทรวดทรง
- ผู้ที่มีก้นเล็ก ลีบ แฟ่บ แม้จะสคว๊อทอย่างไรก้นก็ไม่ขึ้น มองด้านข้างแล้วดูตรง ทำให้ไม่กล้าใส่เสื้อผ้ารัดรูปหรือชุดเดรส ซึ่งจะเน้นรูปร่าง
- ผู้ที่เคยเสริมหน้าอกแล้วหากด้านล่างลำตัวดูตรงจะทำให้ไม่สมส่วน ถ้าเสริมสะโพกไปอีก จะทำให้ดูมีสัดส่วนและดูเซ็กซี่มากขึ้น
- ผู้ที่มีปัญหาบั้นท้ายหย่อนยานตามวัย ต้องการเสริมให้ดูเต่งตึงขึ้น
“เสริมสะโพก” เทคนิคเฉพาะของโรงพยาบาลเลอลักษณ์ โดยศัลยแพทย์ตกแต่งเฉพาะทางระดับอาจารย์ ผลลัพธ์จะได้แผลที่เล็ก เจ็บน้อย หายเร็ว เป็นธรรมชาติ
เทคนิคของโรงพยาบาลเลอลักษณ์ ศัลยแพทย์จะเปิดแผลเพียงตำแหน่งเดียว บริเวณร่องก้น ตรงกลางระหว่างก้นสองข้าง แผลมีขนาดเล็ก ประมาณ 3-4 เซนติเมตรเท่านั้น สามารถซ่อนแผลได้ดี ดูกลมกลืนไปกับร่องก้น โดยใส่ถุงซิลิโคนเข้าไปในชั้นใต้กล้ามเนื้อ เป็นวิธีที่แพทย์แนะนำเพราะจะได้ผลลัพธ์ที่ดูเป็นธรรมชาติ คลำขอบไม่ได้ เพราะมีชั้นกล้ามเนื้อ ไขมัน และผิวหนังคลุมอยู่
แต่หากทำที่อื่นบางแห่งจะเปิดแผล 2 แผล ด้านข้างก้น มองเห็นได้ง่าย และใส่ซิลิโคนในชั้นตื้น หรือชั้นเหนือกล้ามเนื้อ ทำให้เห็นซิลิโคนเป็นก้อน นูน ผิดรูป ก้นแข็ง ซิลิโคนขยับเคลื่อนไปมา หรือซิลิโคนพลิกได้ ก้นดูไม่เนียน ไม่เป็นธรรมชาติ และหากแพทย์ไม่มีประสบการณ์มากพอ อาจผ่าตัดโดนเส้นประสาททำให้เกิดอาการชาบริเวณขาได้
ก่อนทำหัตถการ แพทย์จะทำการตรวจวิเคราะห์ตามโครงสร้างของแต่ละคน เพื่อประเมินตำแหน่งในการวางถุงซิลิโคน โดยหากมีเนื้อก้นมากอยู่แล้ว แต่ต้องการสะโพกที่ผาย ก็จะวางตำแหน่งซิลิโคนค่อนออกทางด้านข้าง หากคนไข้มีสะโพกผายอยู่แล้ว แต่ต้องการก้นที่มีความนูนด้านหลัง ก็จะวางซิลิโคนค่อนมาตรงกลาง
นอกจากนี้ที่โรงพยาบาลเลอลักษณ์ยังสามารถเลือกใช้เทคนิคการผ่าตัดผ่านกล้อง Endoscope มาใช้ ซึ่งเป็นกล้องที่ทันสมัยจากประเทศเยอรมัน เพื่อช่วยในการวางตำแหน่งถุงซิลิโคนให้ได้ตำแหน่งมากที่สุด และช่วยลดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อและเส้นประสาท เลือดออกน้อยลง ช่วยลดโอกาสการเกิดสะโพกแข็งในอนาคตได้
การเสริมสะโพก (เสริมก้น) จะใช้ถุงซิลิโคนเช่นเดียวกันกับการเสริมหน้าอก แต่จะแตกต่างกันที่ การเสริมสะโพกจะใช้ถุงซิลิโคนที่ผลิตมาใช้เฉพาะเสริมสะโพกเท่านั้น ซึ่งมีความแข็งแรงและเหนียว ผิวของถุงซิลิโคนจะหนากว่า มีความยืดหยุ่นสูง ไม่ว่าจะนั่ง นอน ยืน เดิน ก็จะไม่เสียรูปทรง ไม่แตกแน่นอน สำหรับซิลิโคนที่ใช้เสริมสะโพกมี 2 รูปทรงคือ ทรงกลม (Round) และทรงหยดน้ำหรือทรงอนาโตมี่ (Anatomy)
ถุงซิลิโคนสำหรับเสริมสะโพกที่ใช้ ภายในจะบรรจุด้วยซิลิโคนเจลที่มีความหนาแน่นมาก (highly cohesive gel) ไม่มีการผลิตแบบถุงน้ำเกลือ เนื่องจากโอกาสที่ถุงน้ำเกลือจะรั่วมีมากกว่าถุงเจล เพราะการเสริมสะโพกเป็นการใส่ซิลิโคนใต้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่มีการเคลื่อนไหว ทำให้มีแรงกดบริเวณถุงสะโพกมากกว่าถุงเต้านม
ข้อดี : ทรงกลมสามารถวางตำแหน่งในการใส่ได้ง่าย
ข้อเสีย : ไม่สามารถเน้นการเสริมเฉพาะจุดได้
เหมาะกับใคร : ทรงกลมเหมาะสำหรับผู้ที่ก้นแบนมาก เมื่อเสริมซิลิโคนทรงกลมเข้าไปแล้ว จะได้ก้นที่เด้ง มีความนูนชัดเจนบริเวณกึ่งกลางก้น
ข้อดี : สามารถเน้นตำแหน่งที่ต้องการได้
ข้อเสีย : อาศัยความชำนาญของแพทย์มากกว่า เพราะหากวางตำแหน่งไม่ดี หรือแพทย์ไม่มีประสบการณ์ อาจวางตำแหน่งซิลิโคนไม่เหมาะสม และเกิดการเคลื่อนของซิลิโคนได้
เหมาะกับใคร : เหมาะสำหรับผู้ที่พอมีก้นอยู่บ้าง แต่ต้องการเน้นบางจุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่มีปัญหาสะโพกด้านข้างบุบ สามารถใส่ซิลิโคนทรงอนาโตมี่ให้เน้นเสริมบริเวณสะโพกด้านข้าง ให้สะโพกผายออกได้ ได้สะโพกที่ดูกลมกลืนไปกับเนื้อสะโพกเดิม มีความ slope เน้นความเป็นธรรมชาติ
- ใต้ผิวหนัง เป็นการวางถุงซิลิโคนไว้เหนือกล้ามเนื้อ ไม่แนะนำให้ทำ เนื่องจากซิลิโคนมักจะเคลื่อนที่ง่าย ตามการเคลื่อนไหวของร่างกาย และอาจเห็นขอบของถุงซิลิโคนชัดเจนหลังจากยุบบวมแล้ว และมีโอกาสเกิดการทะลุของถุงซิลิโคนในคนไข้บางรายได้
- ใต้กล้ามเนื้อ เป็นวิธีที่ได้มาตรฐานที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากจะได้ผลลัพธ์ที่เป็นธรรมชาติ ซิลิโคนไม่เคลื่อนที่ โอกาสในการที่จะเห็นขอบถุงซิลิโคนมีน้อย แต่เป็นเทคนิคที่ต้องใช้ความชำนาญของศัลยแพทย์ตกแต่งเฉพาะทางและต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดอันตรายต่อเส้นประสาทใหญ่ที่ขา
โรงพยาบาลเลอลักษณ์ทำผ่าตัดโดยศัลยแพทย์ตกแต่งเฉพาะทาง มีจุดเด่นคือเรียนมาถึง 12 ปี มีประสบการณ์การผ่าตัดศัลยกรรม 10 ปีขึ้นไปทุกท่าน ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่า แพทย์ที่โรงพยาบาลเลอลักษณ์มีความเชี่ยวชาญ สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาของคนไข้แต่ละคนได้อย่างถี่ถ้วนและตรงจุด เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับคนไข้ของเรา
โรงพยาบาลมีห้องผ่าตัดที่ได้มาตรฐาน มีระบบกรองอากาศ ระบบฆ่าเชื้ออุปกรณ์ผ่าตัด (sterile) เพื่อป้องกันการติดเชื้อ รวมไปถึงมีเครื่องมือในการช่วยชีวิตครบถ้วนสำหรับในกรณีฉุกเฉิน และมีทีมแพทย์และพยาบาลคอยดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งให้ความปลอดภัยสูงกว่าการทำศัลยกรรมในคลินิก
- งดยาแอสไพริน บุหรี่ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ งดอาหารประเภทกระเทียม หัวหอม น้ำมันปลา วิตามินอี และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองก่อนผ่าตัดประมาณ 2 สัปดาห์ เพราะอาหารพวกนี้มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด อาจทำให้เลือดออกมากระหว่างผ่าตัดได้
- งดน้ำและอาหาร 6-8 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด
- ถ้ามีโรคประจำตัวหรือแพ้ยา ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบล่วงหน้า
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง ไม่ควรผ่าตัด
- การผ่าตัดเสริมสะโพกไม่ควรทำร่วมกับการผ่าตัดอื่นๆ บริเวณส่วนหน้าของร่างกาย เช่น การตัดไขมันหน้าท้องหรือการเสริมหน้าอก เพราะจะมีปัญหาในการดูแลหลังผ่าตัด ยกเว้นการดูดไขมันเล็กน้อยอาจทำร่วมกันได้
- ควรมีผู้ดูแลที่บ้านหลังการผ่าตัด
- งดสูบบุหรี่ 2 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด
- คนไข้ต้องนอนพักในโรงพยาบาลประมาณ 2 คืน
- สัปดาห์แรกควรพักผ่อนมากๆ แต่ไม่จำเป็นต้องนอนบนเตียงตลอดเวลา โดยทั่วไป ในวันที่ 4 สามารถเดินหรือนั่งอย่างช้าๆ โดยอาจรู้สึกเจ็บปวดอยู่บ้างเล็กน้อย
- นอนคว่ำในสัปดาห์แรกหลังผ่าตัด ห้ามนอนหงายเพราะจะเป็นการกดทับถุงซิลิโคน
- หลังจากเปิดแผล ควรทำความสะอาดแผลทุกวันจนถึงวันตัดไหม
- เปิดผ้าพันแผลวันที่ 2 หรือ 3ระวังอย่าให้พลาสเตอร์เปียกน้ำ
- สัปดาห์ที่สองสามารถนั่งบนเบาะนิ่มๆ ได้
- หลังผ่าตัดประมาณ 10 วัน จึงจะสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ
- อาการปวดบริเวณสะโพกอาจเกิดขึ้นได้ใน 1 – 3 เดือนแรก
- จะไม่รู้สึกมีสิ่งแปลกปลอมที่สะโพกภายใน 6 – 8 เดือน
- ใส่กางเกงรัดไว้เป็นเวลา 1 สัปดาห์ กางเกงนี้เปรียบเสมือนตัวควบคุมตำแหน่งซิลิโคนไม่ให้เคลื่อนที่
การเสริมสะโพก ต่างกับการเสริมก้นอย่างไร?
จริงๆแล้ว การเสริมสะโพก จะเสริมทั้งสะโพกและก้น แต่ขึ้นอยู่กับปัญหาของคนไข้ ว่าขาดบริเวณไหนมากกว่า แพทย์จะทำการเลือกทรงซิลิโคน และวางตำแหน่งซิลิโคน เพื่อแก้ไขปัญหาของคนไข้แต่ละราย เช่น หากคนไข้มีปัญหาสะโพกบุ๋มมาก แต่พอมีก้นอยู่บ้าง แพทย์จะวางซิลิโคนเน้นเสริมช่วงสะโพก เพื่อให้ผายออกด้านข้าง แต่ก็จะได้เสริมบริเวณก้นให้นูนออกมาด้วนหลังด้วยเช่นกัน
หลังการเสริมสะโพก เวลานั่งจะรู้สึกลำบากไหม?
เวลานั่งจะไม่ได้นั่งทับซิลิโคน เนื่องจากตำแหน่งของซิลิโคนจะอยู่เหนือบริเวณที่นั่งทับ จึงไม่ได้รู้สึกถึงซิลิโคน
ซิลิโคนสะโพกมีโอกาสขยับไหม?
แพทย์ที่มีประสบการณ์จะสร้างช่องสำหรับการใส่ซิลิโคนที่มีขนาดเล็กพอดี มีพื้นที่แคบ เมื่อใส่ถุงซิลิโคนเข้าไปจะฟิต ไม่มีที่ให้ขยับ ซิลิโคนจะไม่เคลื่อน แต่หากแพทย์ไม่มีประสบการณ์ อาจทำช่องใหญ่ ทำให้ซิลิโคนมีโอกาสเคลื่อนได้
การเสริมสะโพกมี 2 แบบคือ
- ผ่าตัดเสริมสะโพกด้วยการใช้ถุงซิลิโคน (Buttock Implants) ซึ่งเป็นวิธีที่ปลอดภัยและนิยมมากที่สุด
- เสริมสะโพกด้วยการฉีดไขมันตัวเอง (Fat graft) เป็นการเสริมสะโพกอีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมเช่นกัน ศัลยแพทย์จะทำการดูดไขมันส่วนเกินจากส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น หน้าท้อง เอว หรือต้นขา จากนั้นจะฉีดไขมันเข้าไปที่สะโพก เพื่อเสริมสะโพกให้มีขนาดที่สวยงามมากยิ่งขึ้น
แต่วิธีนี้มีข้อเสียคือ ไขมันที่ฉีดเข้าไปบางส่วนจะสลายไป ขนาดของก้นหลังฉีดใหม่ๆ กับหลังผ่านไป 6 เดือนจะต่างกันมาก ต้องเติมไขมันซ้ำทุกๆ 6-12 เดือน อย่างน้อย 2-3 ครั้ง ก้นสองข้างอาจจะไม่เท่ากัน ไม่สามารถกำหนดได้ว่าข้างไหนไขมันจะสลายมากกว่ากัน และมีข้อจำกัดในเรื่องของปริมาณที่ฉีด อาจจะไม่ได้มากเท่าที่ต้องการ
ถ้าฉีดด้วยฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มาตรฐาน คอลลาเจน ซิลิโคนเหลว หรือน้ำมันมะกอก สารจะไม่สลาย จับตัวเป็นก้อน ทำให้ผิวเป็นคลื่น ไม่เรียบ ขรุขระ อีกทั้งยังไหลไปในตำแหน่งที่ไม่ต้องการได้ง่าย จึงทำให้สะโพกผิดรูปไม่ได้รูปทรงตามที่ต้องการ
หากการผ่าตัดไม่ดีพอ อาจเกิดจากการผ่าตัดที่เลือดออกเยอะ เกิดภาวะอักเสบตามมาได้ง่าย ทำให้เกิดพังผืดตามมา จึงทำให้เกิดสะโพกแข็งได้
สามารถนั่งได้หลังจากผ่าตัดประมาณ 2 อาทิตย์ ควรนอนคว่ำเพื่อไม่ให้น้ำหนักไปกดทับถุงซิลิโคน เนื่องจาก 2 อาทิตย์แรก อัตราการแยกของแผลจะยังคงมีสูง การนอนคว่ำจะช่วยรักษารูปทรงของก้นให้สวยงาม และปลอดภัยกว่า
leluxsurgeryofficial